Latest Post

โรคตาแดง

Written By โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองน้อย on วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 | 19:09


                  โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย เป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง

อาการของโรคตาแดง

                  แพทย์จะถามถึงยาที่ท่านรับประทาน ยาหยอดตา เลนส์ น้ำยาล้างตา รยะเวลาที่เป็น อาการที่สำคัญคือ
  1. คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคันไม่ใช่เกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่นหอบหืด ผื่นแพ้
  2. ขี้ตา ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง
  • ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตาเป็นเมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง
  • ขี้ตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเช้าทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
    3. ตาแดงเป็นข้างหนึ่งหรือสองข้าง
  • เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้
  • เป็นข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยเป็นสองข้างสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อเช่นแบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia
  • ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกาแพทย์
    4. อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้มักจะเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่นต้อหินม่านตาอักเสบเป็นต้นดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ต้องรีบพบแพทย์
    5. ตามัว แม้ว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์
    6. ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ

โรคตาแดงจากการติดเชื้อไวรัส
                  เชื้อที่เป็นสาเหตุได้แก่ adenovirus มักจะระบาดในชุมชน โรงเรียน ที่ทำงาน การติดต่อมักจะติดต่อโดยการสัมผัสทางมือ เครื่องมือ สระว่ายน้ำ
                  อาการที่สำคัญคือตาแดงเฉียบพลัน น้ำตาไหล เยื่อบุตาบวม ต่อมน้ำเหลืองหน้าหูโต เคืองตาเล็กน้อย บางรายอาจจะมีเลือดออกที่ตาขาว อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อนแล้วค่อยลามมาอีกข้างหนึ่ง
                  เนื่องจากโรคนี้ติดต่อโดยการสัมผัสจึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงสัมผัสกับคนอื่นเป็นเวลา 7 วันนับตั้งแต่เกิดอาการ การรักษาเป็นเพียงประคับประคองโดยการประคบเย็น ยาหยอดตา ยาปฏิชีวนะไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ควรใช้ยาที่มีส่วนผสมของ steroid เพราะจะทำให้หายช้า

ตาแดงจากโรคภูมิแพ้ Allergic Conjunctivitis
                 เกิดจากการได้รับสารภูมิแพ้จากอากาศ มักจะเป็นฤดูกาล มักจะเป็นสองข้างมีอาการคันตาเคืองตา น้ำตาไหล ตาแดงตาบวม การรักษาต้องหลีกเลี่ยงสารภูมิแพ้ ประคบเย็น ยาหยอดตาแก้แพ้ ยาหยอดตาลดการอักเสบ ยาแก้แพ้ชนิดรับประทาน

ตาแดงจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Bacterial Conjunctivitis
                 ตาแดงจากเชื้อแบคทีเรียมักจะเป็นอย่างรวดเร็วและรุนแรง โดยเริ่มต้นมีขี้ตาเป็นหนอง ตาแดงอย่างรวดเร็ว กดตาจะเจ็บ เคืองตามาก ตาบวม หนังตาบวม เชื้อที่เป็นสาเหตุคือเชื้อหนองใน N. gonorrhoeae และเชื้อไข้กาฬหลังแอ่น Neisseria meningitidis ตาแดงจากเชื้อหนองในมักจะเกิดในเด็กทารกมักจะเกิดภายใน 3-5 วันหลังจากคลอดโดยได้รับเชื้อจากแม่ขณะคลอด การรักษาต้องหยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะ ล้างตาด้วยน้ำเกลือ ยาปฏิชีวนะชนิดฉีด ceftriaxone ciprofloxacin Spectinomycin

สำหรับเด็กตาแดงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมักจะเป็นเชื้อ Streptococcus pneumoniae, Haemophilus influenzae ส่วนผู้ใหญ่จะเป็นเชื้อ Staphylococcus aureus อาการของตาแดงจะมีความรุนแรงน้อยกว่าเชื้อหนองใน จะมีอาการเคืองตา น้ำตาไหล มีขี้ตาเขียว ตาบวม หนังตาบวม

การวินิจฉัยสามารถทำได้โดยการเก็บหนองมาย้อมและเพาะเชื้อ
                 การรักษาต้องเลือกยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อที่เป็นสาเหตุยาที่นิยม ได้แก่ erythromycin ointment และ bacitracin-polymyxin B ointment หรือ trimethoprim-polymyxin B ,gentamicin (Garamycin), tobramycin (Tobrex) neomycin,10 percent sulfacetamide solution

ตาแดงเรื้อรังจากเชื้อแบคทีเรีย
                 สาเหตุเกิดจากเชื้อ staohylococcus ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตาร้อนในตา รู้สึกเหมือนมีขี้ผงในตา มีสะเก็ดเกาะตาในตอนเช้า มักจะมีหนังตาอักเสบ หรือมีตากุ้งยิงเป็นๆหายๆ การรักษาต้องดูแลความสะอาดของตาให้ดี ประคบอุ่นที่ขอบเปลือกตา หยอดยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม

ตาแดงจากเชื้อ Chlamydial
                 เด็กจะได้เชื้อนี้จากช่องคลอด ส่วนผู้ใหญ่จะได้รับเชื้อนี้จากสารหลังจากช่องคลอด ผู้ป่วยจะมีอาการเคืองตา ตาแดง ขี้ตาเป็นหนองโดยมากเป็นข้างเดียวหรืออาจจะเป็นสองข้าง การรักษาจะใช้ยากลุ่ม tetracyclin หรือ erythromycin เป็นเวลาสองสัปดาห์

การตรวจร่างกาย
  • คุณลองคลำต่อมน้ำเหลืองรอบหู หากคลำได้อาจจะเป็นโรคติดเชื้อไวรัส หรือจากสัมผัสสารระคายเคือง ส่วนเชื้อแบคทีเรียมักจะคลำไม่ได้ต่อมน้ำเหลือง
  • ในรายที่เป็นไม่มากไม่ต้องตรวจอะไรเพิ่มเติม
  • ในรายที่เป็นรุนแรง เป็นๆหายๆ หรือเป็นเรื้อรังควรจะต้องตรวจเพาะเชื้อจากขี้ตา
  • การนำขี้ตามาย้อมหาตัวเชื้อก็พอจะบอกสาเหตุของโรคตาแดง
การป้องกันโรคตาแดง
  • อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น
  • อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
  • ล้างมือบ่อยๆ อย่าเอามือเข้าตา
  • ใส่แว่นตากันถ้าต้องเจอสารเคมี
  • อย่าใช้ยาหยอดตาของผู้อื่น
  • อย่าว่ายน้ำในสระที่ไม่ได้ใส่คลอรีน
  • ยาเมื่อไม่ได้ใช้ให้ทิ้ง
  • อย่าสัมผัสมือ
  • เช็ดลูกบิดด้วยน้ำสบู่เพื่อฆ่าเชื้อโรค
การักษาตาแดงด้วยตนเอง
  • ประคบเย็นวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ10-15 นาที
  • ล้างมือบ่อยๆ
  • อย่าขยี้ตาเพราะจะทำให้ตาระคายมากขึ้น
  • ใส่แว่นกันแดด หากมองแสงสว่างไม่ได้
  • อย่าใส่ contact lens ช่วยที่มีตาแดง
  • เปลี่ยนปลอกหมอนทุกวัน เปลี่ยนหมอนทุก 2 วัน
หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
  • ตามัวลง
  • ปวดตามากขึ้น
  • กรอกตาแล้วปวด
  • ไข้
  • ให้ยาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
  • น้ำตายังไหลอยู่แม้ว่าจะได้ยาครบแล้ว
  • แพ้แสงอย่างมาก
การหยอดยาหยอดตา
  • ล้างมือก่อนหยอดตาทุกครั้ง
  • ดึงหนังตาล่างลง
  • ตาเหลือกมองเพดาน
  • หยอดตาตรงกลางเปลือกตาล่าง
  • ปิดตาและกรอกตาไปมาเพื่อให้ยากระจาย การหยอดครีมให้หยอดจากหัวตาบีบไปปลายตา ปิดตาและกรอกตาไปมา
  • เช็ดยาที่ล้นออกมา
  • ล้างมือหลังหยอดเสร็จ

สรุปโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณ อสม. 2557

Written By โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองน้อย on วันศุกร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557 | 00:55

สรุปโครงการและการใช้จ่ายงบประมาณ อสม. 2557





กินเจอย่างปลอดภัย



เข้าสู่ช่วงเทศกาล 'กินเจ" มาได้ระยะหนึ่งแล้ว และก็อย่างที่ทราบๆ กันว่าสำหรับในประเทศไทยนั้นเทศกาลกินเจนี่ก็มี "กระแสคึกคักไม่เบา" เหมือนกัน มี 'คนไทยให้ความสนใจกันไม่น้อย" กับการกินเจ ทั้งด้วยความเชื่อเรื่องการได้บุญและมีความคาดหวังเรื่องสุขภาพ
          กับเรื่อง "บุญ" ก็จะมีการยึดโยงกับการที่ไม่กินอาหารต่าง ๆ ที่มีที่มาจากสัตว์อย่างไรก็ตาม ก็อย่างที่บรรดาผู้สันทัดกรณีชี้กันไว้ ว่า การกินเจให้ได้บุญได้กุศลอย่างถึงพร้อม จะต้องเป็นไปในรูปแบบการ "ถือศีล-กินเจ"
          ขณะที่กับเรื่อง "สุขภาพ" นั้น การกินเจให้ได้ประโยชน์ด้านสุขภาพ ก็ใช่ว่าจะยึดโยงแค่ไม่กินอาหารที่มีที่มาจากสัตว์แค่กินผัก หากแต่ต้อง "กินอย่างถูกต้อง-กินอย่างเหมาะสม" ไม่เช่นนั้นอาจจะเสียสุขภาพก็ได้
          ทั้งนี้ อาหารเจ วัตถุดิบที่ใช้ปรุงต้องปลอดภัย ปรุงถูกหลักเจ และกินถูกหลักเจจริงๆ จึงจะถือว่าเป็นอาหารที่ปรุงและกินตามหลักเวชศาสตร์และเภสัชศาสตร์โบราณของจีน"...ผู้สันทัดกรณีชี้ไว้ ซึ่งก็น่าพิจารณา เพราะอาจยังมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าเมื่อเป็นอาหารเจก็กินได้หายห่วงเรื่องปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ ยิ่งถ้าเป็นการซื้อมากิน แล้วคนที่ปรุงขายไม่ได้ใส่ใจความปลอดภัยของผู้บริโภค ก็ยิ่งไปกันใหญ่
          อีกทั้งยังมีผู้เชี่ยวชาญชี้ไว้ว่า ปัจจุบันการกินอาหารเจของผู้คนบางส่วนกลายเป็นการกินแป้งมากกว่าผัก กินอาหารรสหวาน ปรุงจากการทอด ผัด ซึ่งมีไขมันมาก จึงทำให้อาจจะมีปัญหาสุขภาพ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ซึ่งใครที่เป็นโรคเหล่านี้อยู่แล้วยิ่งต้องระวังอาการกำเริบ
          ว่ากันถึงเรื่อง "สุขภาพ" กับการกิน "อาหาร" บางคนอาจจะคิดว่าการกินอาหารเจนั้นอาจจะมีผลให้ร่างกายต้องขาดสารอาหาร จนทำให้เสียสุขภาพ แต่จริง ๆ แล้วการขาดสารอาหาร การเสียสุขภาพจากการกินนั้น มีโอกาสเกิดได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นในผู้ที่กินเจหรือไม่ได้กินเจ หากไม่ได้ใส่ใจหรือไม่ได้มีการระมัดระวัง
/data/content/25903/cms/e_cgknoptuxz56.jpg
          ภัยจากการกินอาหาร
          กล่าวสำหรับการกินเจ การกินอาหารเจไม่เพียงมีกรณี "พืชผักฉุน 5 ประเภทที่ต้องห้าม" คือ 1.กระเทียม (หมายรวมถึงหัวกระเทียม ต้นกระเทียม) 2.หัวหอม (หมายรวมถึงต้นหอม ใบหอม หอมแดง หอมขาว หอมหัวใหญ่) 3.หลักเกียว (กระเทียมโทนจีน ลักษณะคล้ายหัวกระเทียม แต่มีขนาดเล็กและยาวกว่า) 4 กุยช่าย(คล้ายใบหอม แต่แบนและเล็กกว่า) 5.ใบยาสูบ (หมายรวมถึงบุหรี่ ยาเส้น ของสิ่งเสพติดมึนเมา)
          ซึ่ง 5 ประเภทนี้มีรสหนัก กลิ่นรุนแรง มีผล "ทำลายพลังธาตุทั้ง 5" ทำให้พลังธาตุในกายรวมตัวกันได้ยาก มีผลต่อการทำงานของอวัยวะหลักสำคัญภายในร่างกาย มีฤทธิ์กระตุ้นจิตใจอารมณ์ให้ร้อนแรง ขัดกับการถือศีล-กินเจ...
          กับการ 'ใส่ใจการเลือกกิน" กรณีนี้ก็ 'สำคัญสำหรับการ กินเจ" ซึ่งก็มีคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ-ผู้สันทัดกรณี โดยสังเขปคือ...การกินเจที่ถูกสุขอนามัย นอกจากพืชผักแล้วก็ควรต้อง "กิน ผลไม้สด" ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลังอาหารทุกมื้ออย่างสม่ำเสมอ ควร "กินผักและผลไม้ให้ครบ 5 สี 5 ธาตุ" สลับเปลี่ยนหมุนเวียนในแต่ละวันคือ...1.สีแดง (แดงส้ม แสด ชมพู) ธาตุไฟ 2.สีดำ (น้ำเงิน ม่วง) ธาตุน้ำ 3.สีเหลือง (เหลืองแก่ เหลืองอ่อน) ธาตุดิน 4.สีเขียว (เขียวเข้ม เขียวอ่อน) ธาตุไม้ 5.สีขาว (ขาวนวล ขาวสะอาด) ธาตุโลหะ
/data/content/25903/cms/e_cegjly245689.jpg
          และควร กินเมล็ดธัญพืช รวมถึง กินพืชที่เป็นหัวในดิน เช่น เผือก มัน กลอย ควร กินถั่ว ซึ่งมีคุณค่าโภชนาการสูง โดยถั่วจะมีสารอาหารทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ คนที่กินเจควรกินถั่วทั้ง 5 สีเป็นประจำ ซึ่งถั่วแดง ดีต่อหัวใจ, ถั่วดำ ดีต่อไต, ถั่วเหลือง ดีต่อม้าม, ถั่วเขียว ดีต่อตับ, ถั่วขาว ดีต่อปอด
          นอกจากนี้ ควรกินสาหร่ายทะเล ทั้งสดและแห้ง พร้อมทั้ง ใช้เกลือทะเลปรุงอาหาร โดย 2 อย่างนี้มีไอโอดีน ซึ่งสามารถป้องกันโรคคอพอกได้เป็นอย่างดี อีกทั้งควรต้อง กินอาหารหรือขนมที่ใส่งาขาวและงาดำ โดยในเมล็ดงามีกรดไขมันไลโนเลอิคที่จำเป็นต่อร่างกายมาก และร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
/data/content/25903/cms/e_aehkmstwz279.jpg
          ไม่เท่านั้น ไม่ควรกินรสจัดเกินไป เพราะรสขมจัด ส่งผลเสียต่อหัวใจ, รสเค็มจัด ส่งผลเสียต่อไต, รสหวานจัด ส่งผลเสียต่อม้าม, รสเปรี้ยวจัด ส่งผลเสียต่อตับ, รสเผ็ดจัด ส่งผลเสียต่อปอด อีกทั้งควรต้อง "เลี่ยงการกินอาหารหมักดอง" ไม่ว่าจะเป็นผักดอง ผลไม้ดอง ควรกินแต่อาหารสดที่ปรุงใหม่ ขณะที่ในส่วนของเครื่องดื่ม ควร "ดื่มน้ำผลไม้สด" ที่ดีต่อร่างกาย และ "ดื่มน้ำสะอาดวันละอย่างน้อย 8 แก้ว" เป็นประจำ
          ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่อาจทำให้อาหารเกิดพิษภัยกับร่างกาย คือการกินตามใจ เลือกกินแต่อาหารชนิดที่ชอบไม่คำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดจากการกินอาหาร ซึ่งกับการ 'กินเจ" การเลือก 'ซื้ออาหารเจมากิน" นั้น ทางหน่วยงานด้านสาธารณสุขก็ได้เคยแนะนำไว้ สรุปได้ว่า...อาหารเจในยุคปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ การจะกิน การจะซื้อมากิน ควรต้องคำนึงถึงคุณค่า ความสะอาดปลอดภัย เพื่ออนามัยที่ดี
          'กินเจ" ก็ต้อง 'ไม่มองข้ามความปลอดภัย "กลัวกรณี 'กินเป็นภัย" กันไว้ด้วยก็จะดี!!!.


          ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
          ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

การนอนก็ช่วยให้ห่างไกลจากโรคหัวใจ

Written By โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองน้อย on วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557 | 22:37





                 โรคหัวใจ อีกหนึ่งโรคที่คุณควรระวัง เพราะในประเทศไทยปีหนึ่งๆ มีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจเป็นจำนวนมาก การดูแลสุขภาพให้ห่างไกลจากโรคหัวใจจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับคุณเลยทีเดียว ยิ่งค้าคุณเป็นคนนอนไม่เพียงพอ 

การนอนก็ช่วยให้คุณ ห่างไกลจากโรคหัวใจได้

สาเหตุหนึ่งของโรคหัวใจที่คุณป้องกันได้ ไม่ได้มีเพียงแค่เรื่องอาหารการกิน หรือการงดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกฮอลล์แต่พอเหมาะเท่านั้น
 
งานวิจัยใน European Journal of Preventive Cardiology คอนเฟิร์มว่า เรื่องของการนอนหลับพักผ่อนก็มีส่วนไม่น้อย โดยการพักผ่อนอย่างเพียงพอ คืนละมากกว่า 7 ชั่วโมง จะลดความเสี่ยงโรคหัวใจวายลงถึง 65% ของโรคร้ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบหัวใจและหลอดเลือดก็จะมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยลงถึง 83%แต่ถ้าคุณนอนไม่พอบ่อยๆ ความเสี่ยงโรคนี้ก็พุงขึ้นไปสูงพอๆ กับสูบหรี่จัดเลยล่ะ