Home
»
ยาและเวชภัณฑ์
»
ยาแก้ไอน้ำดำ (M. tussis/Brown mixture)
ยาแก้ไอน้ำดำ (M. tussis/Brown mixture)
Written By โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองน้อย on วันเสาร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2555 | 07:46
บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ
ข้อบ่งใช้
ใช้รักษาอาการไอระคายคอ ไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ
ประเภทของยา
1. ยาที่เข้าสารฝิ่น หรือโคเดอีน (Codeine) ช่วยกดการไอ ที่ใช้บ่อยและราคาถูก ได้แก่ ยาแก้ไอน้ำดำ
(M. tussis/Brown mixture), ยาแก้ไอน้ำเชื่อม (Cough syrup) ซึ่งมีสารฝิ่นผสม
ส่วนยาที่เข้าโคเดอีน ที่มีขายในท้องตลาด เช่น ยาแก้ไอเฟนซีดิล (Phensedyl), โรบิทัสซินเอซี
(Robitussin-AC), โคดีเซีย (Codesia), โคดิพรอนต์ (Codipront) ซึ่งราคาค่อนข้างแพง
2. เดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan) มีชนิดเม็ด 15 มก. และชนิดน้ำ
3. ไดเฟนไฮดรามีน ซึ่งเป็นยาแก้แพ้ชนิดหนึ่ง
ตัวอย่างยา
ยาแก้ไอน้ำดำ (Brown mixture) , ยาแก้ไอน้ำเชื่อม (Cough syrup) , ยาแก้ไอเฟนซิดิล (Phensedyl) ,
ยาเม็ดเดกซ์โทรเมทอร์แฟน (Dextromethorphan)
ขนาดและวิธีใช้
ยาแก้ไอน้ำดำ ยาแก้ไอน้ำเชื่อม ยาแก้ไอที่เข้าโคเดอีน
ผู้ใหญ่ ให้จิบครั้งละ 1-2 ช้อนชา หรือ 1 เม็ด, เด็ก 1/2 - 1 ช้อนชา เวลาไอ ทุก 4-6 ชั่วโมง
เด็กซ์โทรเมทอร์แฟน ผู้ใหญ่ให้ครั้งละ 1-2 เม็ด, เด็ก 1/2 - 1 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
ผลข้างเคียง
อาจทำให้มีอาการมึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึม ท้องผูก
ข้อควรระวัง
1. ระมัดระวังการใช้ในคนที่ไอมีเสลดเหนียว หรือไอจากสาเหตุจากทางเดินหายใจส่วนล่าง (เช่น หลอดลมอักเสบ,
ปอดอักเสบ) จะทำให้เสลดเหนียว โรคหายช้า หรือเกิดการอุดตันของทางเดินหายใจ อาจทำให้ปอดแฟบเป็น
อันตรายได้
2. ถ้ากินแล้วกลับทำให้ไอมากขึ้น ควรหยุดยา
3. ยานี้เข้าฝิ่นหรือโคเดอีน อาจทำให้มึนงง ปวดศีรษะ ง่วงซึม คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก หรือมีอาการแพ้ (มีผื่นคัน)
ได้
ข้อห้ามใช้
สำหรับยาที่เข้าโคเดอีน ห้ามใช้ในคนที่มีประวัติแพ้ยาโคเดอีน, มีอาการหอบหืดกำเริบ, เป็นต้อหิน หรือ
ต่อมลูกหมากโต
อ้างอิง
http://www.thailabonline.com
http://www.thairx.com
ป้ายกำกับ:
ยาและเวชภัณฑ์
แสดงความคิดเห็น