คางทูม เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของต่อมน้ำลาย โดยมากมักจะเป็นที่ต่อมน้ำลายข้างหู (parotid glands) พบมากในเด็กอายุ (6-10) ปี มักไม่พบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และผู้ใหญ่อายุมากว่า 40 ปี มีอุบัติการณ์ในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน และกรกดาคมถึงกันยายน อาจพบการระบาดได้เป็นครั้งคราว
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อคางทูม ซึ่งเป็นไวรัสในกลุ่ม(paramyxovirus เชื้อจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะ
ของผู้ป่วยติดต่อโดยการหายใจสูดเอาฝอยละอองเสมหะที่ผู้ป่วยไอหรือจามรด หรือโดยการสัมผัสถูกมือ สิ่งของเครื่องใช้ (เช่นผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แก้วน้ำ จาน ชาม เป็นต้น) หรือสิ่งแวดล้อมที่แปดเปื้อนเชื้อแบบเดียวกับไข้หวัด เชื้อเข้าสู่ร้างกายทางจมูกและปาก แล้วแบ่งตัวในเซลล์ในเยื่อบุของทางเดินหายใจส่วนต้น หลังจากนั้นเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือด แพร่กระจายไปยังอวัยวะต่างๆโดยเฉพาะต่อมน้ำลายข้างหู
ระยะฟักตัว 2-4 สัปดาห์ (เฉลี่ย 16-18 วัน)
อาการ
ที่สำคัญคือขาไกรบวม 1-2 ข้าง โดยแรกเริ่มผู้ป่วยจะมีอาการไอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร บางรายอาจเจ็บคอภายใน 24 ชั่วโมง (บางรายอาจหลายวัน) ต่อมาจะมีอาการปวดที่ข้างแก้มใกล้ใบหูหรือปวดหู ซึ่งจะเป็นมากขึ้นเวลาพูด เคี้ยว หรือกลืน หรือเวลากินอาหารรสเปรี้ยว เช่นน้ำส้ม น้ำมะนาว ต่อมาจะเกิดอาการบวมที่ขากรรไกรบริเวณใต้หูและข้างหู (ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง)ทำให้ใบหูถูกดันขึ้นข้างบน ผู้ป่วยจะรู้สุกปวดมากขึ้น จนบางครั้งพูด เคี้ยว หรือกลืนลำบาก อาการบวมและปวดจะเป็นมากสุดภายใน1-3 วัน แล้วค่อยๆลดลง ส่วนใหญ่จะหายไปภายใน 4-8 วัน บางรายอาจนานถึง 10วัน ส่วนอาการไข้ส่วนใหญ่จะเป็นอยู่ 3-4วัน บางรายอาจเป็นอยู่ประมาณ 1-6 วัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีขากรรไกบวมเพียงข้างเดียวก่อน ต่อมาอีก 1-2 วัน(บางรายหลายวัน) จึงบวมอีกข้างประมาณร้อยละ 25 ของผู้ป่วยจะมีอาการบวมเพียงข้างเดียว
บางรายอาจมีการอักเสบของต่อมน้ำลายใต้คาง(submandibular glands ) และใต้ลิ้น (sublingual glands) ร่วม ทำให้มีอาการบวมที่ใต้คาง
บางรายอาจมีขากรรไกรบวมโดยไม่มีอาการอื่นๆนำมาก่อน หรือมีเพียงอาการไข้โดยขากรรไกรไม่บวมก็ได้
ประมาณร้อยละ 30 ของผู้ที่ติดเชื้อคางทูมจะไม่แสดงอาการ แต่สามารถแพร่เชื้อให้คนอื่นได้
สิ่งตรวจพบ
ไข้ 38-40◦ซ. บางรายอาจไม่มีไข้
บริเวณขากรรไกรบวม ข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง กดเจ็บ
รูเปิดของที่น้ำลายในกระพุ้งแก้ม(บริเวณตรงกับฟันกรามบนซี่ที่ 2) อาจมีอาการบวมแดงเล็กน้อย
อาจพบอาการลิ้นบวม(ในรายที่มีต่อมน้ำลายใต้ลิ้นอักเสบ) หรือหน้าอกตรงส่วนใต้คอบวม (ในรายที่มีต่อมน้ำลายใต้คางบวม)
ภาวะแทรกซ้อน
ส่วนมากจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนน้อยที่มีอาการอื่นร่วมด้วย ซึ่งเป็นอาการแสดงของการติดเชื้อคางทูมของเนื้อเยื่อส่วนอื่น ซึ่งอาจแสดงอาการก่อน ขณะ หรือหลังขากรรไกรบวมก็ได้
ภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ได้แก่อัณฑะอักเสบ (orchitis) พบได้ประมาณร้อยละ 30-38 จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น อัณฑะปวดและบวม (จะปวดมากใน 1-2 วันแรก) มักพบหลังเป็นคางทูม 7-10 วัน แต่อาจพบก่อนหรือพร้อมคางทูมก็ได้ ส่วนใหญ่เป็นเพียงข้างเดียวและน้อยรายที่จะกลายเป็นหมัน มักพบในวันแตกเนื้อหนุ่ม ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 30-40 ปี ในเด็กอาจพบได้บ้าง แต่น้อยกว่าในผู้ใหญ่มาก
อาจพบรังไข่อักเสบ (oophoritis) ซึ่งจะมีอาการไข้และปวดท้องน้อย มักพบในวัยแตกเนื้อสาว ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้เป็นหมันได้
อาจจะทำให้แท้งบุตรในกรณีที่ติดเชื้อคางทูมในระยะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
อาจพบเยื้อสมองอักเสบ (66) ซึ่งเป็นสาเหตุของเยื้อสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสที่พบได้บ่อยที่สุด มักมีอาการเพียงเล็กน้อยและหายได้เอง ส่วนสมองอักเสบ(65) อาจพบได้บ้างแต่น้อยมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไม่รุนแรง ส่วนใหญ่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง หรือร้ายแรงถึงตาย
นอกจากนี้ ยังอาจพบตับอ่อนอักเสบ(48) ประสาทหูอักเสบ(อาจทำให้หูตึงหรือสูญเสียการได้ยินชั่วคราวหรือถาวรได้) ไตอักเสบ ต่อมาไทรอยด์อักเสบ (122) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ข้ออักเสบ ตับอักเสบ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ แต่ล้วนเป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก
การรักษา
1.ถ้าพบผู้ป่วยมีอาการขากรรไกรบวม มีประวัติ (เช่น ปวดขากรรไกรมาก่อน) เข้าได้กับโรคคางทูม โดยไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆร่วมด้วย ก็ให้รักษาตามอาการโดยไม่ต้องให้ยาปฏิชีวนะ ควนแนะนำให้ผู้ป่วยพัก ดื่มน้ำมากๆ เช็ดตัวเวลามีไข้สูง หลีกเลี่ยงอาหารรสเปรี้ยว ใช้กระเป๋าน้ำ
ร้อนคบ ถ้าปวดมากใช้กระเป๋าน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบ
ในช่วงที่ขากรรไกรบวมหรือปวดมาก หรือ้าปากลำบาก ควรแนะนำให้ผู้ป่วยกินอาหารอ่อนที่เคี้ยวง่าย
ถ้าไข้ไม่สูงหรือไม่มีไข้ ไม่ต้องให้ยา ถ้าไข้สูงให้พาราเซตามอล(ย1.2) ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 19 ปี ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพริน(1.1) เพราะอาจเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรย์ซินโดรม(65.1)
2.ถ้ามีอัณฑะอักเสบ ให้ประคบด้วยน้ำแข็ง ให้ยาลดไข้แก่ปวด เช่นพาราเซตามอล(ย1.2) ยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์(ย2) ส่วนใหญ่หายได้เองใน 1 สัปดาห์
ในรายที่อักเสบรุนแรงหรือให้ยาลดไข้แก่ปวดแล้วไม่ทุเลา แพทย์อาจพิจารณาให้
ยาสตีรอยด์ลดการอักเสบ เช่น ใหเพร็ดนิโซโลน(ย12) ผู้ใหญ่ให้กินครั้งแรก 12 เม็ด (เด็กให้ขนาด 1 มก./กก./วัน) ต่อไปให้วันละ 1 ครั้ง โดยค่อยๆลดขนาดลงทีละน้อยจนเหลือวันละ 5-10 มก. ภายในเวลาประมาณ 5-7วัน
3.ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง ปวดศีรษะมาก อาเจียนมาก คอแข็ง ชัก หรือซึมไม่ค่อยรู้สึกตัวให้ส่งโรงพยาบาล อาจต้องทำการตรวจพิเศษเพิ่มเติม และให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ
4.ในรายที่จำเป็นต้องวินิจฉัยโรคคางทูมให้แน่ชัด แพทย์จะทำการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เช่น การทดสอบทางน้ำเหลืองเพื่อหาระดับสารภูมิต้านทานต่อเชื้อคางทูม การตรวจหาเชื้อคางทูมจากน้ำลาย น้ำไขสันหลัง หรือปัสสาวะ
ข้อเสนอแนะ
1.โรคนี้เกิดจากไวรัส ถือเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง ซึ่งมักจะหายได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ โดยไม่ต้องฉีดยา หรือให้ยาจำเพาะแต่อย่างใด การที่ชาวบ้านนิยมเขียน “เสือ” ด้วยตัวหนังสือจีนที่แก้มทั้งสองข้าง หรือใช้ปูนแดง หรือครามป้ายแล้วหายได้นั้นก็เพราะเหตุนี้
2.ควรแยกผู้ป่วยออต่างหาก อย่าให้คลุกคลีกับผู้อื่น จนกว่าจะพ้นระยะติดต่อ(ระยะติดต่อตั้งแต่4วันก่อนมีอาการจนกระทั่ง 9 วันหลังมีอาการ)
3.ควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน โดยเฉาะในผู้ใหญ่ หากสงสัยควรส่งไปตรวจที่โรงพยาบาล
4.เมื่อเป็นแล้วมักจะไม่เป็นซ้ำ
6.อาการคางบวม อาจมีสาเหตุจากโรคอื่นๆได้ ควรซักถามอาการและตรวจร่างกายให้
ถี่ถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจดูภายในปากและลำคอ และให้การดูแลรักษาตามอาการ 1 สัปดาห์แล้วไม่ทุเลา ก็ควรค้นหาวาเหตุอื่นต่อไป โดยเฉพาะเมลิออยโดซิส ซึ่งพบมากทางภาคอีสาน
การป้องกัน
1.การฉีดวัคซีนป้องกัน แนะนำให้ฉีดวัคซีนรวม ป้องกันหัด-คางทูม-หัดเยอรมัน แก่เด็ก
ทุกคน โดยฉีดเข็มแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน และฉีดซ้ำอีครั้งเมื่ออายุ 4-6ปี
2.ในช่วงที่มีการระบาดหรือมีคนใกล้ชิดป่วยเป็นโรคนี้ แนะนำให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่
อ้างอิง
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2 :350 โรคกับการดูแล
รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551
รักษาและป้องกัน.พิมพ์ครั้งที่ 4: โลจิสติก พับลิสซิ่ง,2551
แสดงความคิดเห็น