ADHD หรือ โรคสมาธิสั้น
1. ปัจจัยทางพันธุกรรม
จากการวิจัยพบว่า พี่น้องท้องเดียวกัน ถ้าหากคนหนึ่งเป็นโรค ADHD
พี่น้องคนอื่นจะมีโอกาสป่วยเป็นโรคนี้สูงถึง
5 เท่า ในลูกฝาแฝดชนิดไข่ใบเดียวกัน โอกาสที่จะเป็นโรคนี้สูงถึงร้อยละ 51
ในไข่แฝด
2 ใบ (คนละใบ) อีกคนหนึ่งจะมีโอกาสป่วยถึงร้อยละ 33 เชื่อว่ามีความผิดปกติที่ยีนชื่อ
DRD4
2. ปัจจัยทางชีวภาพ
มีโรคหลายโรคของผู้ป่วยที่เกิดทางร่างกายและทางสมอง
แล้วเป็นสาเหตุของโรคเด็กซน-สมาธิสั้น เช่น โรคลมชัก (ลมบ้าหมู) โรคขาดอาหาร
(โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีน) เด็กที่คลอดก่อนกำหนด เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย
ต้องอยู่ในตู้อบ โรคสมองอักเสบในเด็ก โรคพยาธิสมองในเด็ก
จากการศึกษาพบว่ามีความผิดปกติในการทำงานของสมอง โดยสมองจะมีขนาดเล็กกว่าปกติ
และมีสารซึ่งช่วยส่งสัญญาณของระบบประสาทต่ำกว่าปกติ
3. ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ ปัญหาการเลี้ยงดู สภาพแวดล้อมภายในบ้านไม่เหมาะสม ปัญหาทางด้านจิตใจของพ่อแม่
หรือผู้ดูแลเด็ก ปัญหาเหล่านี้ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค ADHD โดยตรง
แต่จะเป็นตัวกระตุ้นเด็กที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซน-สมาธิสั้นอยู่แล้ว
ทำให้เกิดอาการปรากฏชัดขึ้น และมีอาการรุนแรงขึ้นด้วย
การวินิจฉัยอาการและอาการแสดง
1. อาการขาดสมาธิ เด็กจะมีลักษณะวอกแวกง่าย
ขาดความตั้งใจในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่ต้องใช้สมาธิ
เด็กจะแสดงอาการเหม่อลอยบ่อยๆ ฝันกลางวัน ทำงานไม่เสร็จ
ผลงานมักจะออกมาไม่เรียบร้อยตกๆ หล่นๆ เด็กจะมีลักษณะเป็นคนขี้ลืม
ทำของใช้หายเป็นประจำมีลักษณะเหมือนไม่ฟังเวลามีคนอื่นพูดด้วย
เวลาสั่งให้เด็กทำงานอะไรเด็กมักจะทำหรือทำครึ่งๆ กลางๆ
เด็กเหล่านี้จะมีอาการติดตัวไปจนถึงเป็นผู้ใหญ่
2. อาการซน เด็กมีลักษณะอาการซนยุกยิก อยู่ไม่สุข นั่งนิ่งๆ
ไม่ค่อยได้ ต้องลุกเดิน หรือขยับตัวไปมา ชอบปีนป่าย เล่นเสียงดัง เล่นผาดโผน หรือทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตราย
ประสบอุบัติเหตุบ่อยๆ จากความซน และความไม่ระมัดระวัง พูดมาก พูดไม่หยุด
อาการนี้เห็นได้ชัดในเด็กเล็กๆ เมื่อโตขึ้นอาการซนจะลดลงตามวัย
จนเหลือแต่อาการกระสับกระส่ายกระวนกระวายใจ เวลาต้องอยู่นิ่งๆ
ในวัยผู้ใหญ่หรือวัยรุ่น
3. อาการหุนหันพลันแล่น เด็กจะมีอาการวู่วาม ใจร้อน
ทำอะไรลงไปโดยไม่คิดล่วงหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้น ขาดความระมัดระวัง เช่น
วิ่งข้ามถนนโดยไม่มองซ้ายมองขวา เวลาต้องการอะไรจะต้องได้ทันที รอคอยไม่ได้
เวลาอยู่ในห้องเรียนมักพูดโพล่งออกมา โดยไม่ขออนุญาตครูก่อน มักจะตอบคำถามโดยที่ฟังยังไม่ทันจบ
ชอบพูดแทรกในเวลาที่ผู้อื่นกำลังคุยกัน
หรือกระโดดเข้าเล่นร่วมลงโดยยังไม่ทันขออนุญาตก่อน
เวลาทำการบ้านมักจะทำให้เสร็จไวๆ
โดยไม่คำนึงถึงว่างานจะถูกต้องเสร็จเรียบร้อยหรือไม่
4. อาการอื่นๆ ในบางรายเด็ก ADHD จะมีอาการดื้อ
ต่อต้าน เกเร ก้าวร้าว หรือมีพฤติกรรมอื่นๆ ร่วมด้วย
บางรายอาจจะมีพัฒนาการเด็กล่าช้า มีปัญหาทางด้านภาษา และการพูด
บางรายจะมีปัญหาการประสานงานกล้ามเนื้อไม่ดี ปัญหาการเรียนรู้บกพร่อง
ในบางรายอาจจะมีอาการทางจิตเวชเกิดร่วมด้วย เช่น อาการซึมเศร้า และโรควิตกกังวล
สรุปอาการขาดสมาธิ 9 ประการ คือ
1. ไม่สามารถจดจำรายละเอียดของงานได้ มักจะทำผิดเนื่องจากขาดความรอบคอบ
2. ไม่มีสมาธิในการทำงาน หรือเล่น
3. ไม่สนใจฟังคำพูดของคนอื่น
4. ไม่สามารถตั้งใจฟัง และเก็บรายละเอียดของคำสั่งได้
5. ทำงานไม่เป็นระเบียบ
6. ไม่เต็มใจ หรือเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้ความคิด
7. ทำของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นต้องใช้ในการเรียนหรือการทำงานหายบ่อยๆ
8. วอกแวกง่ายๆ
9. ขี้ลืมบ่อยๆ ในกิจวัตรประจำวันของงานที่ทำ
ผู้ป่วยต้องมีอาการอย่างน้อย 6 อาการจาก 9
อาการขึ้นไป
และเป็นอย่างน้อย 6 เดือน
อาการซน หุนหันพลันแล่น 9 ประการ คือ
1. ยุกยิก อยู่ไม่เป็นสุข ชอบขยับมือ ขยับเท้าไปมา
2. ชอบลุกจากที่นั่งเวลาเรียน หรือสถานที่ที่จำกัดให้ต้องนั่งเฉยๆ
3. ชอบวิ่งหรือปีนป่ายสิ่งต่างๆ
(ในวัยรุ่นอาจจะแค่กระวนกระวายใจเท่านั้น)
4. ไม่สามารถเล่น หรือนั่งนิ่งอยู่เงียบๆ ได้
5. ต้องเคลื่อนไหวตลอดเวลาเหมือนมีเครื่องยนต์ติดตัว
6. พูดมาก พูดไม่หยุด
7. ชอบโพล่งคำตอบเวลาครูหรือพ่อแม่ถาม โดยที่ฟังคำถามยังไม่จบ
8. มีความลำบากในการเข้าคิวหรือการรอคอย
9. ชอบขัดจังหวะ หรือสอดแทรกเวลาผู้อื่นคุยกันหรือแย่งเพื่อนเล่น
การวินิจฉัยโรค ต้องมีอาการ 6 อย่างใน 9 อย่างขึ้นไปนานกว่า
6 เดือน ก่อนอายุ 7 ปี และอาการต้องเกิดอย่างน้อย 2 แห่ง เช่น
ที่บ้าน ที่โรงเรียน การทำงาน การเข้าสังคม ซึ่งอาการทั้ง 9 ข้อนี้
ไม่ได้เกิดต่อเนื่องหลังจากผู้ป่วยเป็นโรคทางจิตเวช
การรักษา
การรักษาที่ได้ผลดีที่สุดคือการผสมผสานกันระหว่างการรักษา
ด้วยการปรับพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม กับการรักษาทางยา
การปรับพฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1. การฝึกสอนพ่อ แม่ ต้องอธิบายให้พ่อแม่เข้าใจว่า
โรคเด็กซน-สมาธิสั้น นั้นเกิดจากการทำงานของสมองไม่ดี เกิดจากความตั้งใจก่อกวน
โดยพฤติกรรมของเด็กเอง
พ่อแม่ต้องเรียนรู้วิธีการดูแลเด็ก
เด็กเหล่านี้จะมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในสังคม
เด็กจะทรมานกับการทำการบ้านแต่แล้วก็ลืมเอาไปส่งครู เด็กจะมีปัญหากับเพื่อนร่วมชั้น
พี่น้อง
ส่วนพ่อแม่ที่ไม่เข้าใจเด็กก็จะไม่สนใจเนื่องจากเด็กจะไม่เชื่อฟังพ่อแม่จะไม่สามารถควบคุมเด็ก
เด็กจะไม่มีระเบียบวินัย ต่อมาพ่อแม่ก็จะใช้วิธีดุ
ตีแม้ว่าจะทราบว่าเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้องแต่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร
พฤติกรรมการดุด่าและการลงโทษจะทำให้อาการของเด็กแย่ลง เด็กจะดื้อมากขึ้น ต่อต้าน
ก้าวร้าว วิธีการที่ดีกว่าคือ
การให้คำชมหรือรางวาลเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่ถูกต้อง
และควบคุมพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมโดยการงดกิจกรรมที่เด็กชอบ หรือตัดสิทธิอื่นๆทั้งพ่อแม่และเด็กจะต้องปรึกษาจิตแพทย์ หรือทีมสุขภาพจิต
เพื่อช่วยกันประคับประคองความรู้สึก พฤติกรรมให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้อง
พ่อและแม่ต้องพูดคุยกับแพทย์เพื่อที่จะได้ช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับข้อจำกัด
ที่ตัวเด็ก
และช่วยแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวเพื่อให้เด็กได้ใช้ความสามารถด้านอื่นทดแทนในส่วนที่บกพร่อง
2. การแนะนำต่อครู คุณครูควรจัดที่นั่งเด็กแถวหน้าหรือกลางห้อง
ถ้าเด็กหมดสมาธิก็ให้โอกาสไปเดินได้ ชมเชยเมื่อเด็กทำดี
แต่อย่าดุหรือลงโทษเมื่อทำผิด
การสั่งการบ้านควรเขียนให้ชัดเจนให้เด็กทำงานทีละอย่าง อย่ามากไป
อย่าตำหนิติเตียนเด็กอย่างรุนแรง พยายามเข้าใจและหาจุดดีของเด็ก
สร้างความเข้าใจและอาจจำเป็นต้องสอนพิเศษ
3. แนะนำที่ตัวเด็กเอง เด็กควรได้รับการสอนเป็นพิเศษ เมื่อเรียนไม่ทัน
มีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ถ้าหากเด็กมีอาการโรคจิตอื่นๆ
ด้วยต้องได้รับการบำบัด เด็ก ADHD ที่ขาดทักษะทางสังคมต้องมีการฝึกฝนทางสังคม ให้เข้ากับผู้อื่นได้
การฟัง การเอาใจเขามาใส่ใจเรา การแสดงออกที่เหมาะสมในโรงเรียน
ควรจะมีการฝึกฝนสมาธิสำหรับเด็กด้วย
การรักษาด้วยยา
การรักษาด้วยยา
แพทย์ที่รักษาโรคเด็กจะให้ยารักษาอาการซึมเศร้า ยากระตุ้นทางจิตเวช
ยาต้านอัดรีเนอร์จิด และยาจิตเวช ต้องระมัดระวังใช้ยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ปลอดภัย ใช้ง่าย มีผลข้างเคียงน้อย
อ้างอิง
กรมสุขภาพจิต
แสดงความคิดเห็น