Home » , » วิธีการใช้ยาอินซูลิน แบบปากกา

วิธีการใช้ยาอินซูลิน แบบปากกา

Written By โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านคลองน้อย on วันอังคารที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2555 | 20:30

อินซูลิน insulin

แบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์
  1. ออกฤทธิ์เร็ว Rapid acting หรืออินซูลินน้ำใส ก่อนใช้ไม่ต้องคลึงขวดได้แก่ เช่น Humalog( insulin lispro),novolog(insulin aspart),apidra ( insulin glulisine) อินซุลินชนิดนี้เมื่อฉีดแล้วจะออกฤทธิ์ทันทีดังนั้นควรจะฉีดยาก่อนอาหารไม่เกิน 15 นาทีหรืออาจจะฉีดหลังอาหารในเด็กซึ่งไม่สามารถทราบปริมาณอาหารที่รับประทาน หรือในผู้ป่วยเบาหวานที่ระบบประสาทอัตโนมัติเสียทำให้กระเพาะอาการไม่ทำงาน ไม่สามารถคาดการณืเรื่องการดูดซึม เนื่องจากยานี้ออกฤทธิ์สั้นระดับยาจึงไม่พอที่จะคุมระดับน้ำตาลมื้อต่อไป
  2. Short acting insulin ได้แก่ Regular insulin [actrapid,humalin-R ] เริ่มออกฤทธิ์ 30-45 นาทีหลังฉีด ยาออกฤทธิ์สูงสุด 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และอยู่ได้นาน 4-6 ชั่วโมงหลังฉีด ยานี้จะมีระับยาที่สามารถคุมระดับน้ำตาลก่อนอาหารมื้อต่อไป
  3. ออกฤทธิ์ปานกลาง Intermediate-Acting Insulin หรือชนิดน้ำขุ่นแบ่งออกเป็นสองชนิด
  • NPH insulin [neutral protamine hagedorn insulin] หรืออาจเรียก isophane insulin ใช้สาร protamine ทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ยาวขึ้นได้แก่ Humalin-N เริ่มออกฤทธิ์ 1-4 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 4-10 ชม. และยาอยู่ได้นาน 12-20 ชม.ใช้ฉีดใต้ผิวหนังได้อย่างเดียวหากฉีดยาตอนเช้ายาจะออกฤทธิ์เต็มที่ตอนเย็น หากฉีดก่อนนอนจะออกฤทธิ์เต็มที่ตอนเช้ามืด
  • Lente insulin ใช้ zinc ทำให้ยาออกฤทธิ์นานขึ้นเริ่มออกฤทธิ์ 2-4 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 8-12 ชม. และยาอยู่ได้นาน 12-20 ชม.
  1. ออกฤทธิ์ระยะยาว Long-Acting Insulin ได้แก่ ,insulin glargine,insulin detemir ออกฤทธิ์นานสุด เริ่มออกฤทธิ์ 3-5 ชม.หลังฉีด ออกฤทธิ์สูงสุด 10-16 ชม.และยาอยู่ได้นาน 18-24 ชม.
  2. Inhaled Insulin อินซูลินชนิดนี้ให้โดยการดูดลงในปอดและจะถูกดูดซึมที่ปอด การออกฤทธิ์จะเร็วเหมือนอินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็วจะให้ก่อนอาหาร ชนิดดูดชนี้จะไม่ใช้ในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ โรคหอบหืด หรือโรคถุงลมโป่งพอง เด็ก และคนที่มีการติดเชื้อทางเดินหายใจ
  3. อินซูลินผสม Insulin Mixtures เป็นการผสมอินซูลินออกฤทธิ์เร็วกับอินซูลินออกฤทธิ์ปานกลางโดยมากผสมอัตราส่วน30:70


ยาอินซูลินชนิดฉีด ( แบบปากกา )
          ยาอินซูลินชนิดฉีดเป็นเภสัชภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นของเหลว ผ่านการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว ใช้ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยสามารถฉีดอินซูลินเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยตนเองโดยอาศัยชุดอุปกรณที่มีลักษณะคล้ายปากกา ซึ่งผู้ผลิตแต่ละรายได้ออกแบบมาให้สะดวกและง่ายต่อการใช้ยาโดยทั่วไปอุปกรณ์สำหรับฉีดอินซูลินประกอบด้วย ยาอินซูลินบรรจุอยู่ในกระบอกยา ปากกาสำหรับให้ยาอินซูลิน และหัวเข็มฉีดยา

การบรรจุหลอดอินซูลิน
  1. ถอดปลอกปากกาแล้วคลายเกลียวเพื่อถอดส่วนกระบอกบรรจุออก
  2. ทำความสะอาดแผ่นยางของเพ็นฟิลล์ด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์แล้วบรรจุลงไปในกระบอกบรรจุ
  3. หมุนวงแหวนตามเข็มนาฬิกาให้ก้านสูบกลับเข้ามาจนสุด ( ในบางรุ่นก็ใช้วิธีดัน ให้ดูจากคู่มือของเครื่องมือนั้นๆเป็นหลัก )
  4. ประกอบส่วนของกระบอกบรรจุเพ็นฟิลล์เข้ากับตัวด้ามปากกาแล้วขันเกลียวให้แน่น
การใส่หัวเข็มฉีดอินซูลิน
  1. ลอกแผ่นผนึกออก
  2. สวมเข็มเข้ากับปากกาด้านที่มีแผ่นยางจากนั้นขันเกลียวให้แน่น
  3. ดึงปลอกนอกออก
การตั้งขนาดยา
  1. หมุนวงแหวนปรับขนาดยาให้ได้ตรงตามที่ต้องการ ( บางรุ่นก้หมุนตรกงปลายและมีขีดบอกขนาดยาเป็นยูนิต )
  2. ถ้าเป็นอินซูลินชนิด น้ำขุ่น ให้เขย่า ช้าๆ อย่างน้อย 10 ครั้ง สังเกตการกระจายตัวของยาสี ความขุ่นเสมอกันภายในหลอด
การฉีดอินซูลิน
  1. เตรียมยาฉีดอินซูลินให้พร้อมฉีด โดยบรรจุหลอดยาอินซูลินลงในปากกาสำหรับฉีดยาอินซูลิน สวมหัวเข็มและปรับขนาดยาตามวิธีที่ระบุไว้ในคู่มือการใช้งานของบริษัทผู้ผลิตแต่ละราย
  2. เช็ดผิวหนังบริเวณที่จะฉีดอินซูลินให้สะอาดด้วยสำลีชุบแอลกอฮอล์ระเหยจนแห้งก่อนที่จะฉีดยา
  3. ถอดปลอกเข็มฉีดยาออก แล้วจับผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาอินซูลินยกขึ้นเล็กน้อยโดยใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ของมือข้างหนึ่งบีบผิวหนังเข้าหากัน
  4. จับปากกาด้วยมืออีกข้างหนึ่งโดยใช้นิ้วโป้งแตะไว้ที่ปุ่มสำหรับกดให้ยาและใช้นิ้วมือทั้งสี่ที่เหลือกำด้ามปากกาไว้ จับปากกาให้อยู่ในแนวเดียวกับผิวหนังบริเวณที่จะฉีดยาและแทงหัวเข็มลงสัมผัสกับผิวหนังบริเวณนั้น
  5. กดปุ่มฉีดยาที่ปลายปากกาจนสุดตัวยาอินซุลินจะถูกฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ดึงปากกาขึ้นเพื่อถอนเข็มฉีดยาออกจากผิวหนัง
  6. สวมปลอกเข็มกลับดังเดิม แล้วตรวจสอบดูว่ายาอินซูลินถูกฉีดตามขนาดที่ต้องการหรือไม่ 
ข้อแนะนำในการฉีดยา
  1. ไม่ควรฉีดซ้ำตำแหน่งเดิมทุกวัน
  2. ตำแหน่งที่ฉีดใหม่ควรห่างจากครั้งหลังสุดประมาณ 1 นิ้ว
  3. ไม่ควใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเพราะอาจทำให้ติดเชื้้อโรคจากผู้อื่นได้
  4. ก่อนฉีดควรตรวจสอบปริมาณยาที่เหลือคร่าวๆก่อนว่าเหลือเพียงพอกับปริมาณที่ต้องการหรือไม่หากไม่พอหรือไม่แน่ใจควรเปลี่ยนยาหลอดใหม่
การเก็บอินซูลิน

เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 ํซอยู่ได้30เดือนไม่ต้องแช่แข็ง สามารถที่อุณหภูมิห้องได้เป็นเวลานาน 1 เดือนดังนั้นไม่จำเป็นต้องแช่น้ำแข็งระหว่างเดินทาง ระวังมิให้ถูกแสงหรืออุณหภูมิที่ร้อนเกินไปผู้ป่วยควรที่จะมีสำรองอินซูลินไว้อย่างน้อยหนึ่งขวด
  • ควรเก็บยาไว้ในตู้เย็น ห้ามแช่ในช่องแช่แข็ง เพราะทำให้อินซูลินเสื่อมสภาพ
  • กรณีที่ไม่มีตู้เย็น ให้เก็บไว้ในกระป๋องที่มีฝาปิดมิดชิดแล้วแช่ในหม้อดินที่มีน้ำหล่ออยู่ต่ำกว่ากระป๋องเล็กน้อย
  • กรณีเดินทางควรเก็บไว้ในกระเป๋าถึอติดตัว หลีกเลี่ยงการตากแดด ถ้าไม่แน่ใจให้แช่ในกระติกน้ำแข็ง
  • ควรมีอินซูลินสำรองไว้หนึ่งขวดเสมอ
อินซูลินที่เสื่อมสภาพเป็นอย่างไร
  1. อินซูลินที่เลยกำหนดวันหมดอายุหรือใช้เกินระยะเวลาที่กำหนดดังนี้
  • ขวดที่ยังไม่เปิด เก็บไว้ในตู้เย็น ใช้ได้จนวันหมดอายุ
  • ขวดที่เปิดใช้แล้ว เก็บในตู้เย็น ใช้ได้ 3 เดือนหลังเปิดขวด
  • ขวดที่เปิดใช้แล้ว เก็บที่อุณหภูมิห้อง ใช้ได้ 1 เดือนหลังเปิดขวด
  1. ลักษณะของอินซูลินเปลี่ยนไป เช่นมีตะกอนค้าง หรือตะกอนแขวนลอยที่ก้นขวด
VDO สาธิตการใช้ อินซูลิน แบบปากกา


Share this article :

แสดงความคิดเห็น